วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผู้จัดทำ
นาย ปวริศร์ จารุลิมปะพงศ์ ม.4/4 เลขที่16
นาย พาวิน เกียรตินิพูล ม.4/4 เลขที่20
นาย ธาม เพชรสุทธิ์ ม.4/4 เลขที่12
นส.บุณยาพร สุวัฒนพันธุ์กุล เลขที่ 6
นส.จิดาภา วัฒนะประการชัย เลขที่ 2
นส.จันทิมา หิ่งห้อย เลขที่ 1

รุปภาพ9


รุปภาพ8


รุปภาพที่7


รุปภาพ6


รุปภาพ5


รุปภาพ4


รุปภาพ3



รุปภาพ2


รุปภาพ1


กติกาการแข่งขันยิมนาสติก

ยิมนาสติก (Gymnastics) เป็นกีฬาสากลประเภทหนึ่งที่จัดเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพื่อทดสอบความแข็งแรงของนักกีฬา  รวมทั้งจังหวะ ความยืดหยุ่นตัวหรือความอ่อนตัวและความคล่องแคล่วว่องไว กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล ยิมนาสติกลีลาและแทรมโปลิน
กติกาการแข่งขันยิมนาสติก
การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นประเภทชายและประเภทหญิงแข่งขันกันโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆกัน เช่น ม้ากระโดด ม้าหู บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่งและฟลอร์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงภาคบังคับและท่าสมัครในอุปกรณ์แต่ละชนิดข้างต้น การแข่งขันแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น ประเภททีม ประเภทเดี่ยวผสม และประเภทเดี่ยว
อุปกรณ์ชาย ห่วงนิ่ง บาร์คู่ ม้ากระโดด บาร์เดี่ยว ม้าหู
อุปกรณ์หญิง บาร์ต่างระดับ ราวทรงตัว ม้ากระโดด
กรรมการ ประกอบด้วยกรรมการให้คะแนน 4 คน กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
( ในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวรอบชิงชนะเลิศจะมีกรรมการชี้ขาด 2 คน )
การให้คะแนน คะแนนของผู้เข้าแข่งขันคิดจากกรรมการทั้ง 4 คน โดยจะตัดคะแนนที่สูงสุดและต่ำสุดออก และนำคะแนนกลางจากกรรมการอีก 2 คน มาหาค่าเฉลี่ยเป็นคะแนนของผู้เข้าแข่งขัน คะแนนที่ได้จะมีตั้งแต่ 0 ถึง 10 คะแนน ซึ่งอาจจะถูกหักออกทั้งหมดครึ่งหนึ่ง หรือ 1/10 คะแนน ในการแข่งขันอุปกรณ์บางประเภทอาจมีการให้คะแนนการเริ่มเล่นเป็นคะแนนพิเศษ ( เนื่องจากเป็นท่าเสี่ยงอันตรายต้องใช้พลังกำลังและมีความคิดสร้างสรรค์)ซึ่งอาจทำให้ได้รับคะแนนเต็ม 10 คะแนนได้
การแข่งขันประเภททีม แต่ละทีมจะมีผู้แข่งขัน 6 คน โดยผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะทำการแข่งขันทุกอุปกรณ์ด้วยท่าบังคับและท่าสมัคร แล้วนำคะแนนของผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดของทีม 5 คน มารวมกันเป็นคะแนนของทีม (คะแนนสูงสุดของชายคือ 600 คะแนน และหญิงคือ 400 คะแนน)
การแข่งขันประเภทบุคคลรวมอุปกรณ์ ผู้เข้าแข่งขันคัดจากผู้ได้คะแนนรวมทุกอุปกรณ์สูงสุดจากการแข่งขันประเภททีมจำนวน 3 คน มาแข่งขันรอบสุดท้ายด้วยท่าสมัคร คะแนนจากรอบนี้จะรวมกับครึ่งหนึ่งของคะแนนที่ทำได้จากการแข่งขันประเภททีมเป็นคะแนนรวมของแต่ละคน (คะแนนสูงสุดของชายคือ 120 และหญิง 80คะแนน)
การแข่งขันประเภทบุคคลแยกอุปกรณ์ ในการแข่งขันแต่ละอุปกรณ์จะมีผู้เข้าแข่งขัน 6 คน โดยคัดจากผู้ได้คะแนนสูงสุดในแต่ละอุปกรณ์จากการแข่งขันประเภททีมมาทำการแข่งขันในรอบสุดท้าย คะแนนที่ได้จากรอบนี้จะรวมกับครึ่งหนึ่งของคะแนนที่ทำได้ในอุปกรณ์นั้นๆ จากการแข่งขันประเภททีมเป็นคะแนนรวมแต่ละคน (คะแนนสูงสุดของทั้งชายและหญิงคือ 20 คะแนน)
กติกาการแข่งขันยิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี
เดิมใช้เป็นกิจกรรมเพื่อการฝึกบริหารร่างกาย โดยเน้นการใช้ทักษะยิมนาสติกผสมกับจังหวะของดนตรี และเพื่อให้สะท้อนลีลาที่สวยงามจึงเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ใหม่ คือ ลูกบอล ห่วง ไม้โยน ริบบิ้นยาว และเชือก เพื่อเพิ่มความตื่นเต้นผสมกับความสวยงาม และได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 23 ณ นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2527 จุดเด่นของยิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี คือ การเน้นความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับดนตรีได้อย่างงดงามและมีศิลปะอ่อนช้อย
อุปกรณ์ มีทั้งหมด 5 ชิ้น ได้แก่ ลูกบอล ริบบิ้น ห่วง ไม้โยน และเชือก อุปกรณ์ทั้ง 5 ชิ้นจะใช้สีใดก็ได้ ยกเว้น สีทอง เงิน และทองแดง จะใช้สีตัดกันหรือสีผสมกลมกลืนกันก็ได้แล้วแต่พอใจ
ดนตรี เป็นความสำคัญสุดยอดในการพัฒนาจังหวะและการเคลื่อนไหว การแสดงออกจึงต้องผสมกลมกลืนกับการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกับศิลปะบัลเล่ต์ เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแข่งขันต้องเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงชิ้นเดียว เช่น เปียโน ขลุ่ย และไวโอลิน
การแข่งขัน ไม่จำกัดเพศและอายุ นักกีฬาต้องแข่งขันกันตามลำดับอุปกรณ์ คือ เชือก ห่วง ลูกบอล ไม้โยน และริบบิ้น ในการแข่งขันแต่ละครั้งนักกีฬาจะแสดงเพียง 4 อุปกรณ์เท่านั้น ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขันจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ประเภทการแข่งขัน มี 2 ประเภท คือ   ประเภทบุคคล             และ ประเภททีม

ประเภทบุคคล
ประเภททีม
นักกีฬา/นักกีฬาสำรอง
1 คน / 1 คน
6 คน / 2 คน
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน
1.00 1.30 นาที
2.303.00 นาที
ขนาดของฟลอร์
12 x 12 เมตร
12.5 x 12.5 เมตร
เครื่องแต่งกาย ต้องเป็นชุดแนบเนื้อ หากไม่มีแขน ไหล่จะต้องกว้างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร
การแข่งขันประเภทบุคคล คะแนนเต็ม 10 คะแนน แบ่งคะแนนเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 มี 7 คะแนน เป็นคะแนนการเรียงลำดับท่า ซึ่งประกอบด้วยท่าของความยาก 5 คะแนน ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีและท่าทาง 1 คะแนน ท่าของเทคนิคในการประกอบชุด 0.5 คะแนน และความคิดริเริ่มในการแต่งท่า 0.5 คะแนน
ส่วนที่ 2 มี 3 คะแนน เป็นคะแนนท่าจบประกอบด้วยเทคนิคการทำให้สำเร็จ 1.5 คะแนน ผลสะท้อนโดยสรุป 1.5 คะแนน
การแข่งขันประเภททีม คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งกรรมการออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 10 คะแนนแล้วนำคะแนนของกรรมการทั้ง 2 กลุ่มมารวมกัน กรรมการกลุ่มที่ 1 ตัดสินจากการแข่งท่า 5 คะแนนและท่าของเทคนิคการแสดง 5 คะแนน กรรมการกลุ่มที่ 2 จะตัดสินจากการผสมกลมกลืนและเทคนิคการทำท่าให้สำเร็จ 10 คะแนน
ท่าที่ใช้ในการแข่งขันทั้งประเภทบุคคลและทีม กำหนดให้มีท่าแข่งขันท่ายากอย่างน้อย 2 ท่า ท่าละ 1 คะแนน ท่าง่าย 6 ท่า ท่าละ 0.5 คะแนน การตัดสินความยากง่ายของท่าไม่กำหนดตายตัว เนื่องจากเทคนิคมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก่อนการแข่งขันจึงมีการประชุมระหว่างกรรมการเพื่อตกลงกันเรื่องการให้คะแนน
กรรมการและเจ้าหน้าที่
การแข่งขันประเภทบุคคล กรรมการหญิง 4 คน และมีหัวหน้ากรรมการ 1 คน รวมเป็น 5 คน

การแข่งขันประเภททีม กรรมการหญิง 8 คน และหัวหน้า 2 คน รวมเป็น 10 คน